Pasar al contenido principal
x

ต้นแบบของวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการประมง (สมุทรศาสตร์เคมี) (Master in Marine Science and Fisheries (Chemical Oceanography) )

Tipo
Master (ISCED 2011 level 7)
Idioma

Tailandés

Costo 38750 Baht/Year

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511 แรกเริ่มการเรียนการสอนจะเน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้การจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เกิดแรงกระตุ้นจากโครงการ พญานาค (NAGAs) และได้รับการผลักดันจาก UNESCO ตลอดจนมีความตื่นตัวในทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการประมงทางทะเลโดยรวมเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีการเริ่มต้นศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตนั้น เพราะประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากทะเลมาก จึงต้องรีบเร่งผลิตผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีสถานีวิจัยสัตว์ทะเล อ่างศิลาตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็น สถานีวิจัยที่สนับสนุนงานวิจัยภาคสนามทั้งด้านสมุทรศาสตร์ และชีววิทยาทางทะเล นอกจากนี้ภาควิชาฯยังมีส่วนในการก่อตั้งสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งมีสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ที่สนับสนุนงานวิจัยและการฝึกงานของนิสิตในภาควิชาฯ ด้วยเช่นกัน

 ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ

  • University of Ryukyus
  • Tohoko University, ประเทศญี่ปุ่น
  • Tongji University, สาธารณรัฐประชาชนจีน

   ความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ

  • แกนนำภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-ญี่ปุ่น สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลชายฝั่ง โดยเป็นความร่วมมือ Japan Society of the Promotion of Science (JSPS) ประเทศญี่ปุ่น กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT)
  • สมาชิกของ Intergovernmental Oceanography Commission (IOC) ที่มีความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
  • ความร่วมมือกับ Center for Tropical Marine Ecology (ZMT), มหาวิทยาลัยเบรเมน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
  • เข้าร่วมการสำรวจขั้วโลกใต้กับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติก+ญี่ปุ่น ครั้งที่ 46 และ 51 (JARE-46 and 51: Japanese Antarctic Research Expedition) โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งญี่ปุ่น (National Institute of Polar Research)
  • เข้าร่วมการสำรวจขั้วโลกใต้กับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจีนครั้งที่ 30 (CHINARE30: 30th Chinese Antarctic Research Expedition) โดยมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สวทช. และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวิจัยขั้วโลก (Chinese Arctic and Antarctic Administration: CAA)
Componentes estructurales
Tesis/Disertación
Entrenamiento de embarcaciones
Entrenamiento de buceo
Entrenamiento de laboratorio
Trabajo práctico/ de campo
Proyecto de investigación

Categorías CINE (ISCED)

Manejo de proyectos
Competencias personales y comunicación
Cultura oceánica
Biología
Ecología
Conservación y gestión ambiental
Oceanografía física y química
Estadística
Planificación Espacial Marina
Topografía